Why Music ?

แบ่งปันประสบการสอนดนตรี

ทำไมต้องเรียนดนตรี ?

 

วันนี้เผชิญกับเด็กพิเศษที่เล่นiPad ก่อนเรียนเปียโน
เมื่อถึงเวลาเรียนนักเรียนได้ถูกผู้ปกครองบอกให้เลิกเล่นเกมในไอแพทแล้วไปเรียนเปียโน

จึงเป็นที่มาเหมือน การเจรจาสามฝ่าย

นักเรียน ผู้ปกครอง และครู

ถ้าเปรียบเทียบเป็นประเทศจะอาจคล้ายดังนี้
1. นักเรียน=ประเทศมหาอำนาจ
2. ผู้ปกครอง=ประเทศที่เป็นกลาง
3. ครู= ประเทศโลกที่สาม

 

เมื่ออยู่ๆนักเรียนที่มีการเล่น iPad ก่อนชั่วโมงเรียนและยังสนุกติดพันกับเกม บอกว่า
วันนี้ไม่อยากเรียน เสมือน ประเทศมหาอำนาจ

อยู่ๆก็ตั้งกฎหมายอะไรก็ได้ที่ตัวเองได้ผลประโยชน์ออกมา

ฝ่ายผู้ปกครอง เข้ามาไกล่เกลี่ยบอกให้ นักเรียนไปเรียนโดยให้เหตุผลที่ไม่โดนใจเด็ก
เมื่อ ประเทศมหาอำนาจรู้ว่าตัวเองมีอำนาจล้นมือ จึงได้งัดอำนาจนั้นออกมาโดยการ ยืนคำขาดว่า
ไม่อยากเรียนอันอื่นๆด้วยโดยให้เหตุผลว่าเหนื่อย ให้เหลือแต่เรียนศิลปะ
ประเทศเป็นกลางเลยสัญญากับมหาอำนาจว่า ถ้าจะเลิกต้องเป็นปีหน้า
ส่วนมหาอำนาจไม่พอใจ และต่อรองอีกว่า ไม่เอาไม่เรียนวันนี้ (ทดลองอำนาจ)
ประเทศเป็นกลางบอก เทอมหน้าถึงเลิกเรียนได้ (ต่อรอง)
คราวนี้มหาอำนาจใช้ระเบิดนิวเคลียร์คือน้ำตาออกมา และยิงคำถามว่า “ทำไมต้องเรียน”
ประเทศเป็นกลางเลยไม่รู้จะทำยังไง ทั้งยังให้เหตุผลที่ไม่จุใจประเทศมหาอำนาจ
ฝ่ายประเทศที่สามเริ่มเฝ้าสังเกตุการอยู่นาน ได้เก็บข้อมูลทั้งสองฝ่ายว่า
ฝ่ายหาอำนาจไม่ได้คำตอบที่เป็นที่พอใจ ส่วนประเทศเป็นกลางเริ่มพลั้งพลาดในการเจรจาต่อรอง
ประเทศโลกที่สามเมื่อได้ยิน ประโยคว่า

“ทำไมต้องเรียน(เปียโน)” จึงสบโอกาสเสนอข้อมูลที่น่าสนใจ ชวนให้สงสัย
(เพราะเด็กพิเศษจะมีความตรงไปตรงมาสูงขอเพียง

ให้เค้าสามารถควบคุมอารมณ์พลุงพล่านได้
และมีคำตอบที่เป็นเหตุผลที่ถูกต้องและตรงกับที่เค้าต้องการได้

เค้าจะยอมรับเหตุผลนั้นและปฏิบัติตัวได้อย่างดี)
โดยที่เมื่อประเทศเป็นกลาง ชะงักไปชั่วขณะ

ประเทศที่สามเลยเข้าเจรจาแทน เสนอคำถามไปว่า
” อยากรู้ไหม๊? ทำไมถึงต้องเรียนเปียโน”

เป็นการเบี่ยงเบนอารมณ์โกรธและคับข้องใจที่เริ่มก่อตัว ให้เป็นความสงสัยแทน
ประเทศที่สามเลยบอกอีกว่า ไปเอากระดาษมาเดี๋ยวครูจะเล่าให้ฟังว่าทำไม
(เป็นการให้เด็กออกจากอารมณ์ที่ขุ่นมัว

โดยการให้ไปจดจ่อกับการหากระดาษและสงสัยว่าทำไมต้องเรียน)
มาถึงจุดนี้ถ้าการทูตของประเทศที่สามไม่สามารถทำให้

ประเทศมหาอำนาจพึ่งพอใจได้อาจทำให้การเจรจาครั้งนี้ล้มเหลว
แต่สุภาษิตในเรื่องสามก๊กกล่าวว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง
ประเทศที่สามประเมินแล้วว่า

ประเทศมหาอำนาจชอบที่จะเป็นคนเก่ง และสนใจเรื่องทางวิทยาศาสตร์กับศิลปะ
จึงเสนอเรื่อง ดนตรีสัมพันธ์อย่างไรกับการพัฒนาการของสมอง
ถ้าเป็นเด็กธรรมดาอาจจะมึนตืบกับข้อมูลที่ครูพูดในหลักการของวิทยาศาสตร์
เรื่องการเชื่อมโยงเซลล์สมองสัมพันธ์กับการเรียนดนตรีอย่างไร

ประกอบการวาดรูปสมอง ทำไมทำให้การเรียนอื่นๆดีขึ้นด้วย ฯลฯ
แต่กับเด็กพิเศษดังที่กล่าวข้างต้น เค้ามีความตรงไปตรงมาสูงและชอบด้านวิทยาศาสตร์
เมื่ออธิบายให้เค้าเข้าใจในภาษาของเค้าได้

ทำให้สามารถเปลี่ยนท่าทีของนักเรียนให้กลับมาสนใจได้

และการเจรจาครั้งนี้ประสบความสำเร็จได้ด้วยดี
โดยที่เด็กวิ่งไปนั่งที่เปียโนเองเริ่มเรียนแบบมีจุดหมายมีรอยยิ้มเสียงหัวเราะ

ปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียนกับครูกลับเป็นเหมือนเดิม
ส่วนเนื้อหาการเรียนก็ยังครบถ้วนอยู่

การอ่านโน้ต การฟัง การปฏิบัติเครื่องดนตรี(เล่น) การได้มีความคิดสร้างสรรค์
ที่สำคัญคือความสุขที่เด็กได้รับจากการเรียน จบชั่วโมงเรียนด้วยรอยยิ้ม
ไม่ว่าเด็กทั่วไปหรือเด็กพิเศษที่ไม่ได้หลงไหลการเล่นดนตรีจากจิตใจเค้าเอง

คงอยากทราบเหตุผลว่า  ทำไมต้องเรียนดนตรี

 

ทั้งครูและผู้ปกครองควรเตรียมเหตุผลล่วงหน้าไว้ก่อนนะคะ
เมื่อถึงเหตุการจริงจะได้อธิบายในภาษาที่เด็กแต่ละคนจะเข้าใจได้ค่ะ
ถึงจุดนั้น จะทำให้การเจรจาสามฝ่ายหายไปเหลือแต่ อยู่ฝ่ายเดียวกัน win win win

 

Tip! อย่าให้เด็กเล่นเกมผ่านมือถือหรือIPad ก่อนเรียนวิชาต่างๆเลยค่ะ
ถ้าไม่อยากให้เกิดสงครามย่อยๆขึ้นระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง

9 Hand-painted children play vector